เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น

........การถ่ายภาพเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนที่เป็นศาสตร์ได้แก่ สิ่งที่เป็นวัสดุอุปกรณ์ ผลิตผลทางวิศวกรรมศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์ เช่น กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ
ส่วนที่เป็นศิลป์ ได้แก่ การออกแบบ หรือความคิสร้างสรรค์ในการจัดภาพให้มีคุณค่าทางความงาม และยังสามารถบอกได้ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน ได้อย่างประทับใจ
........ในด้านวิทยาศาสตร์การถ่ายภาพมีเหตุมีผลสอดคล้องกันเริ่มตั้งแต่ คำศัพท์ชื่อ "การถ่ายภาพ" มาจากภาพอังกฤษว่า Photography ซึ่ง Photo แปลว่า แสง ส่วน Graphy หรือ Graphic แปลว่า การขีดเขียนเป็นภาพหรือตัวอักษร รวมความแล้วแปลว่า "การเขียนภาพด้วยแสง" ดังนั้นปัจจัยสำคัญในการถ่ายภาพก็คือ "แสง" การถ่ายภาพจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเวลาและสถานที่นั้นมีแสงเท่านั้น
........กาละและเทศะเป็นสัจจะที่สองสิ่งนี้ต้องสัมพันธ์กันตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของแสงเสมอ นั่นหมายถึงว่า ถ้าสภาพแสงปกติ ควรเปิดหน้ากล้องให้เล็กหรือกว้างเพียงใดเพื่ออนุญาตให้แสงเข้าไปสู่ตัวกล้องได้ปริมาณมากเนื่องจากขนาดของรูรับแสงหรือหน้ากล้อง (f-stop) อย่างนี้เรียกว่า เทศะ ในขณะที่แสงกำลังพุ่งเข้าไปในตัวกล้องตามขนาดของรูรับแสงที่กำหนดขึ้น เราจะต้องกำหนดระยะเวลาให้แสงที่พุ่งเข้านั้นเป็นเวลานานเท่าใด (speed) อย่างนี้เรียกว่า กาละ เมื่อเรากำหนดกาละและเทศะให้เหมาะสมกันแล้วนำไปบวกกับการออกแบบหรือการจัดภาพให้สวยงาม เราก็จะได้ภาพถ่ายที่สวยงามประทับใจตามต้องการ
........เทคนิคในการปฏิบัติงานถ่ายภาพ เริ่มจากการตั้งรูรับแสง (aperture) และความเร็วชัตเตอร์ (shutter speed) ทั้งสองส่วนนี้จะควบคุมให้ภาพถ่ายมีความมืดหรือสว่างมากน้อยตามความต้องการของเรา การปรับขนาดช่องรูรับแสงที่แตกต่างกันนอกจากจะมีผลทำให้ปริมาณของแสงเข้าไปในกล้องต่างกันแล้ว ยังทำให้ระยะความคมชัดของภาพ (depth of field) แตกต่างกันไปอีกด้วย ส่วนการปรับความเร็วของชัตเตอร์ก็เช่นกัน หากมีการปรับหรือเปลี่ยนความเร็วของชัตเตอร์ ปริมาณของแสงก็จะเข้าไปในกล้องจะต่างกัน และยังมีผลต่อการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนที่อีกด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงกับความเร็วชัตเตอร์
........เนื่องจากรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ทำงานสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เมื่อมีการปรับหรือเปลี่ยนรูรับแสงหรือความเร็วชัตเตอร์ ปริมาณของแสงที่เข้าไปในกล้องก็จะเปลี่ยนไปด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการปริมาณแสง 100% หากเปิดช่องรับแสงกว้าง 20% ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ 80 % หรือ ถ้าเปิดช่องรับแสงกว้าง 50 % ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ 50 % และถ้าเปิดช่องรับแสงกว้าง 80 % ต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ 20 % จึงจะได้ปริมาณแสงที่เท่ากัน
........ในการถ่ายภาพที่สภาพของแสงที่มีแสงแดด และปรากฎว่าเครื่องวัดแสงกำหนดให้เปิดช่องรับแสง f11 ความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาที จะได้ภาพที่รับแสงได้พอดี แต่ถ้าเราต้องการเปลี่ยนไปใช้ความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วขึ้น 1 ขั้น คือ 1/250 วินาที เพื่อจับภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง ก็จำเป็นต้องเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น 1 สตอป คือ f8 เพื่อชดเชยให้ได้ปริมาณแสงเข้ากล้องพอดี ในทำนองเดียวกัน หากเราต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงจากเดิม 1 ขั้น คือ 1/60 วินาที ก็ต้องปรับขนาดช่องรับแสงให้แคบลง 1 สตอป นั่นคือ f16 จึงจะรับปริมาณแสงได้พอดี เป็นต้น
........ข้อควรจำที่ง่ายๆก็คือ ในการเลือกใช้ขนาดรูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ ต้องใช้ให้สัมพันธ์กันโดยคำนึงถึง ความไวแสงฟิล์มที่ใช้ด้วยเมื่อต้องการเลือกปรับขนาดช่องรับแสงเป็นสำคัญก็ตองปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วขึ้น หรือช้าลงตามสภาพของแสงขณะถ่ายภาพ ทำนองเดียวกันหากต้องการปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์เป็นหลัก ก็ต้องเปลี่ยน ขนาดช่องรับเสงให้กว้างขึ้นหรือแคบลงตามสภาพของแสงเช่นเดียวกันการปรับขนาดช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์
........การปรับขนาดช่องรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กันนั้นอาจได้ความรู้จากคำแนะนำหรืออุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ตรวจดูคำแนะนำจากบริษัทผู้ผลิตฟิล์ม..........1.ในกล่องฟิล์มแต่ละม้วนจะมีคำแนะนำในการใช้ฟิล์ม และตารางคำแนะนำในการปรับขนาดช่องรับแสงและการตั้งความเร็วชัตเตอร์ในสภาพแสงต่างๆกัน ซึ่งมักจะเขียนเป็นรูปภาพ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ..........2.ใช้เครื่องวัดแสงอุปกรณ์วัดสภาพแสงสว่าง อาจมีอยู่ในตัวกล้องถ่ายภาพ หรือเป็นเครื่องวัดแสงแยกต่างหากจากตัวกล้อง ทั้งสองชนิดจะช่วย วัดสภาพแสงสว่าง และกำหนดการปรับขนาดช่องรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ได้ถูกต้องแม่นยำหลักพื้นฐานในการปรับขนาดช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์..........สำหรับในข้อนี้ มีหลักเบื้องต้นอยู่ว่าการถ่ายภาพในขณะที่มีแสงแดดจัด เมื่อปรับขนาดช่องรับแสงที่ f16 ให้ตั้งความเร็วชัตเตอร์ ตรงหรือใกล้เคียงกับตัวเลขความไวแสงของฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพ เช่นถ้าใช้ฟิล์มสี ความไวแสง 100 ISO ก็ให้ตั้งความเร็วชัตเตอร์ ที่ 1/125 วินาที และปรับขนาดช่องรับแสง f16 ในขณะที่มีแสงแดดจัด ปริมาณของแสงจะเข้าไปทำปฏิกิริยากับฟิล์มได้พอดี หากสภาพของแสงแดดอ่อนลง นั่นคือแสงน้อยลงก็ต้องปรับขนาดช่องรับแสงให้กว้างขึ้น 1 สตอป นั่นคือ f 11 หรือถ้าสภาพแสงในร่มเงาก็ควรปรับขนาดช่องรับแสงให้กว้างขึ้นอีก คือ f8 เป็นต้นตารางประมาณการปรับขนาดช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์.........ในการปรับขนาดช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ในสภาพแสงที่ต่างกันนั้นพอสรุปได้ดังตารางการเปลี่ยนแปลงขนาดช่องรับแสงและความเร็วชัตเตอร์จะมีผลทำให้ภาพถ่ายมีลักษณะพิเศษแตกต่างกันออกไปดังนี้การเปลี่ยนแปลงขนาดช่องรับแสง............การปรับขนาดช่องรับแสงให้เล็กเช่น ปรับไว้ที่ f16 หรือ f11 จะทำให้ลักษณะของภาพถ่ายมีช่วงความชัด (Depth of field) สูงมากคือ วัตถุที่อยู่ใกล้และไกลจากกล้องถ่ายภาพ จะมีความชัดตลอด เรียกว่า ชัดลึก และถ้าปรับขนาดช่องรับแสง ให้กว้างเช่น f1.4 หรือ f2 ภาพถ่ายจะมีความคมชัดอยู่เฉพาะในช่วงที่เราปรับระยะโฟกัส ระยะนอกนั้นจะเบลอ ไม่ชัดเจน เรียกภาพถ่ายนั้นว่ามีความชัดตื้นการเปลี่ยนแปลงความเร็วชัตเตอร์............การตั้งความเร็วชัตเตอร์สูงเช่น 1/1000 วินาที หรือ 1/500 วินาที ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวจะได้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้น หยุดนิ่งอยู่กับที่ เรียกภาพถ่ายนั้นว่าภาพ Stop action แต่ถ้าตั้งความเร็วชัตเตอร์ให้ต่ำ เช่น 1/30 วินาที หรือ 1/15 วินาที ถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหว จะได้ภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวนั้น ดูประหนึ่งว่ากำลังเคลื่อนที่มีความเร็วช่วงความชัด (Depth of Field)............ภาพถ่ายที่มีความชัดตั้งแต่วัตถุที่อยู่ระยะหน้า (Foreground) ไปถึงวัตถุที่อยู่ระยะหลังสุด (Background) ของระยะตำแหน่งที่ปรับความชัดในภาพ เราเรียกภาพนั้นว่าเป็นภาพที่มีความชัดลึกมาก คือชัดตลอด ขณะเดียวกันมีภาพถ่ายบางภาพมีความชัดเฉพาะตำแหน่งที่เราปรับ Focus ไว้ ส่วนระยะหน้าและระยะหลังจะพร่ามัวไม่ชัดเจน เราเรียกภาพนั้นว่ามีความชัดตื้นความชัดลึกของภาพนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 3 ประการ คือ...........1. เลนส์ของกล้องถ่ายภาพที่มีระยะความยาวโฟกัสสั้น เช่น เลนส์ 28 มม. จะให้ภาพที่มีความชัดลึกมากกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว เช่น 50 มม. หรือ 135 มม............2. การปรับขนาดของช่องรับแสง ภาพที่ปรับช่องรับแสงแคบมาก เช่น f16 หรือ f11 จะให้ภาพที่มีความชัดลึกมากกว่าการปรับช่องรับแสงให้กว้าง เช่น f16 หรือ f11 จะให้ภาพที่มีความชัดลึกมากกว่าการปรับช่องรับแสงให้กว้าง เช่น f2 หรือ f1.4..........3. การถ่ายภาพที่กล้องอยู่ห่างจากวัตถุที่ถ่ายไกลมาก เช่น 10 ฟุต จะได้ภาพที่มีความชัดลึกมากกว่าที่กล้องอยู่ใกล้วัตถุ เช่น 5 ฟุต หรือ 3 ฟุต เป็นต้นในการถ่ายภาพบางประเภทจึงควรเลือกใช้เลนส์ การปรับขนาดช่องรับแสง หรือระยะในการถ่ายภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ภาพที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น ถ้าต้องการภาพถ่ายที่ให้เห็นเด่นชัดเฉพาะบางส่วนที่ต้องการเน้น และให้ระยะหลังพร่ามัวก็ควรเลือกใช้เลนส์ระยะความยาวโฟกัสมาก หรือเปิดช่องรับแสงให้กว้างมากๆ เช่น f2 หรือ f2.8 แล้วโฟกัสภาพไปที่สิ่งที่ต้องการเน้น หรือถ้าต้องการถ่ายภาพทิวทัศน์เพื่อให้เป็นลักษณะภูมิประเทศชัดเจนก็ควรเปิดช่องรับแสงให้แคบเช่น f16 หรือ f 11 แล้วโฟกัสภาพที่อินฟินิตี้ เป็นต้น



บล็อกของครูผู้เข้าอบรม
http://krupum.blogspot.com
http://krupum.blogspot.com
http://pupla.blogspot.com
http://kruuyai.blogspot.com
http://jirapun50.blogspot.com
http://krulek.blogspot.com
http://angkana2503.blogspot.com
http://ratchanee310102.blogspot.com
http://krunarong.blogspot.com
http://prapaithairat.blogspot.com
http://rapeeko.blogspot.com
http://prapai07.blogspot.com
http://nikuljaidee.blogspot.com
http://sukkantharak.blogspot.com
http://kingkaew58.blogspot.com
http://krusuriya.blogspot.com

URL ผู้เข้าอบรมเทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตัล
1. ผอ.สุริยา ทับน้อย http://krusuriya.blogspot.com2. อ.พวงแก้ว กิ่งแก้ว http://kingkaew58.blogspot.com3. อ.ศรีสมวงษ์ สุคันธรักษ์ http://sukkantharak.blogspot.com4. อ.นิกุล ใจดี http://nikuljaidee.blogspot.com5. อ.ประไพ ขาวฉวีรัตนชาติ http://prapai07.blogspot.comsuriya says:6. อ.รพี โกมลนุสิต http://rapeeko.blogspot.com7. อ.ประไพ แป้นดวงเนตร http://prapaithairat.blogspot.com8. อ.ณรงค์ กลิ่นฟุ้ง http://krunarong.blogspot.com9. อ.รัชนี ตั้งสมบูรณ์ http://ratchanee310102.blogspot.com10. อ.อังคณา สมพงษ์อินทร์ http://angkana2503.blogspot.comsuriya says:11. อ.วัลลภา ดอนดี http://krulek.blogspot.com12. อ.จิรพรรณ เตนันทะโส http://jirapun50.blogspot.com13. อ.ถนอมทรัพย์ โชติศิริคุณวัฒน์ http://kruuyai.blogspot.com14. อ.วรรทณา พิมพ์สวัสดิ์ http://pupla.blogspot.com15. อ.เยาวลักษณ์ บุญฉวีราษฎร์ http://krupum.blogspot.com16. คุณแสงสุริยา วราห์คำ http://photobyone.blogspot.comsuriya says:มีอยู่ 16 url แต่บาง url ไม่ถูกต้องครับ เข้าไม่ได้

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การอบรมเทคนิคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตัล


........วันที่ 28-29 สิงหาคม 2550 ให้การอยรมครูในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดราชบุรี จำนวน 65 คน เรื่องนี้อบรมเป้นครั้งที่ 2 ครั้งแรกจัดขึ้นที่ โรงเรียนคารุราษฎร์รังสฤษดิ์ เป็นที่น่าสังเกตว่าการอบรมเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพมีผู้สนใจสนใจเข้ารับการอบรมทุกรอบ แสดงว่าน่าจะมีปัจจัยอะไรสักอย่างที่ซ่อนเล้นอยู่ในใจของคนที่มีกล้องดิจิตัล เพราะการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตัลไม่ใช่เรื่องยากใครก็ถ่ายได้ ไม่ต้องตั้งค่าฟิล์ม ค่าความไวแสง หรือค่าเอฟสต็อปก็ได้ อย่างที่เห็นโดยทั่วๆ ไปก็ถ่ายกันพอใช้ได้สามารถนำไปเป็นหลักฐานได้ แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไปบ้างคือการจัดภาพให้สวยงามและเทคนิคการใช้องค์ประกอบอื่นๆ ในการกระตุ้นการรับรู้ให้ดูสวยงาม เช่น แสง สี เส้น รูปร่าง รูปทรง พื้นผิว เป็นต้น เมื่อแต่ละคนเรียนรู้สิ่งเหล่านี้แล้วก็สามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายได้ด้วยตนเอง

กระบวนการอบรมเทคการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตัล

การสาธิตเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเห็นกระบวนการจัดมุมภาพและแสงแบบธรรมชาติ

การอธิบายในห้องเรียนเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีการคิดและการออกแบบในการถ่ายภาพ ชี้ให้เห็นว่าการถ่ายภาพเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ หมายความว่าอย่างไร การถ่ายภาพจำเป็นต้องอาศัยทั้งเหตุผลและความรู้สึกในการสร้างสรรค์เพื่อให้ได้ภาพที่โดเด่นและสวยงาม

เมื่อได้แนวคิดหรือวิธีการในการถ่ายภาพเบื้องต้นแล้วลงมือปฏิบัติการโดยการปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน ต่างพิจารณาและพิสูจน์ทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อให้ได้ภาพตามที่ต้องการ ทดลองทั้งมุมสูง มุมต่ำ แต่ละมุมอาศัยแสงที่สาดส่องมายังวัตถุหรือดอกไม้ ทำให้เกิดแสงทั้งแบบส่องผ่านและแสงตกกระทบ


ใจจดใจจ่อกับการทดลองถ่ายภาพดอกไม้ที่มีแสงเป็นตัวกำหนดสำคัญ







ภาคปฏิบัติการถ่ายภาพ

ภาคปฏิบัติการถ่ายภาพ
เมื่อมีแสงแดดสาดส่องมาในช่วงบ่ายของอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่างรีบหามุมและแสงที่สวยงามที่ตนเองชอบแล้วกดชัตเตอร์บันทึกภาพทันที

ผลงานการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตัล

ผลงานการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตัล
การถ่ายภาพดอกไม้แบบแสงส่องผ่าน และการจัดภาพแบบกึ่งกลาง